แนวพระราชดำริด้านการป่าไม้





แนวพระราชดำริด้านการป่าไม้ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง เล่าถึงแรงบันดาลใจ ในความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ป่า น้ำ ดิน ซึ่งโยงใยมีผลกระทบต่อกัน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ว่า ".....อาจมีบางคนเข้าใจว่า ทำไมถึงสนใจเรื่องชลประทาน หรือ เรื่องป่าไม้ จำได้เมื่ออายุ 10 ขวบ ที่โรงเรียนมีครูคนหนึ่ง ซึ่งเดี๋ยวนี้ตายไปแล้ว สอนเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการอนุรักษ์ดินแล้วให้เขียนว่า �� ูเขาต้องมีป่า อย่าง นั้นเม็ดฝนลงมาแล้วจะชะดินลงมาเร็ว ทำให้ไหลตามน้ำไป ไปทำความเสียหาย ดินหมดจาก�� ูเขาเพราะไหลตามสายน้ำไป ก็เป็นหลักของป่าไม้ เรื่องการอนุรักษ์ ดิน และเป็นหลักของชลประทานที่ว่า ถ้าเราไม่รักษาป่าไม้ข้างบน จะทำให้เดือด ร้อนตลอด ตั้งแต่ดิน�� ูเขาจะหมด ไปกระทั่งการที่จะมีตะกอนลงมาในเขื่อน มี ตะกอนลงมาในแม่น้ำทำให้น้ำท่วมนี่นะ เรียนมาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ....." การที่ทรงเห็นความสำคัญของปัญหาป่าเสื่อมโทรม ซึ่งส่งผลกระ ทบต่อปัญหาด้านอื่นๆ ไม่เฉพาะแต่ปัญหาเรื่องดิน เรื่องน้ำเท่านั้น หากโยงใยถึง ปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง คุณธรรมและระบบนิเวศน์ ด้วยเหตุดังกล่าว จึงทำให้แนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาป่า มิได้เป็นกิจกรรมที่ดำเนินไปอย่าง โดดๆ หากแต่รวมเอางานพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมด เข้าไปทำงานในพื้นที่ อย่าง ประสานสัมพันธ์กัน แนวพระราชดำริด้านการป่าไม้ จำแนกออกเป็นหมวดหมู่ตามงาน ได้ดังนี้
1.การอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อม
จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในพื้นที่ ต้นน้ำลำธาร ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน�� าคเหนือ พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงปัญหา การเสื่อม โทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงตระหนักถึง ความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้ ซึ่งมีความสัมพันธ์ เอื้ออำนวย ประโยชน์ต่อกันและกัน หากทรัพยากรอย่างหนึ่งอย่างใดถูกรบกวน ก็จะส่งผลกระ ทบทำให้ความสมดุลทางธรรมชาติเสียหายตามไปด้วย ดังนั้น จึงพระราชทานแนว พระราชดำริในการจัดการอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อมดังต่อไปนี้
1.การรักษาป่าต้นน้ำ เป็นหลักการขั้นพื้นฐานแห่งแนวพระราชดำริในการ อนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อม คือ เมื่อมีป่าก็จะมีน้ำ มีดินอันอุดม มีความชุ่มชื้นของ อากาศ และเกื้อกูลต่อการดำรงชีวิตของคน ถึงแม้การรักษาป่าต้นน้ำลำธารจะมีวัตถุประสงค์ปลายทางสำคัญอยู่ที่ การ เกื้อกูลการดำรงชีวิตของมนุษย์ และการอยู่ร่วมกันของคนกับป่า แต่ป่าต้นน้ำ คือที่ บริเวณซึ่งพึงรักษาให้อยู่อย่างปลอด�� ัยจากการรบกวน หรือเสี่ยงต่อความเสียหายใดๆ โดยเฉพาะความเสียหายที่เกิดจากคน
2.การจัดการเรื่องน้ำและการสร้างความชุ่มชื้นในบริเวณพื้นที่อนุรักษ์ พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญต่อการจัดการเรื่องน้ำเป็น อย่างยิ่ง เพราะน้ำเป็นปัจจัยหลักในการรักษาและฟื้นฟูส�� าพป่า รวมทั้งการปลูกป่า หลักในการสร้างแหล่งเก็บน้ำเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมตามแนวพระราช ดำริ ก็คือ การกักเก็บน้ำไว้บนที่สูงให้มากที่สุด แล้วจ่ายปันลดหลั่นลงมาโดยพยายาม เก็บน้ำไว้ในดินให้มากที่สุด ควบคุมและจัดการส�� าวะการไหลของน้ำให้สม่ำเสมอ สรุปได้ว่า การจัดการทรัพยากรน้ำ ในงานอนุรักษ์ต้นน้ำลำธารและสิ่งแวด ล้อมนั้นก่อประโยชน์ต่อส�� าพน้ำคือ ทำให้ปริมาณน้ำดีขึ้น คุณ�� าพน้ำดีขึ้น และการ ไหลของน้ำดีขึ้น
3.การจ่ายปันน้ำ เมื่อมีแหล่งกักเก็บน้ำแล้วงานต่อเนื่องคือ การจ่ายปันน้ำ เพื่อแผ่ขยายความชุ่มชื้นแก่สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เพื่อการอุปโ�� ค บริโ�� ค และเพื่อการ เพาะปลูก โดยการทำท่อส่งและลำเหมือง ซึ่งพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้น การใช้วัสดุในพื้นที่ที่หาง่ายและประหยัดเป็นหลัก การแผ่ขยายพื้นที่จ่ายปันน้ำโดยท่อส่งและลำเหมืองนี้ ยังช่วยทำหน้าที่ "เก็บน้ำไว้ในดิน" ให้ครอบคลุมบริเวณกว้างขวางออกไปด้วย
4.การรักษาป่าชายเลน นอกจากมีพระราชดำริให้อนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธาร และพื้นที่ป่าบกโดยทั่วไปแล้ว ยังทรงมีสายพระเนตรยาวไกลไปถึงปัญหาที่เกิดขึ้นใน ป่าชายเลนของประเทศอีกด้วย

2.การฟื้นฟูส�� าพป่าและการปลูกป่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริที่เป็นแนว คิด และวิธีการซึ่งจำแนกออกเป็นหัวข้อได้ดังนี้
1.การฟื้นฟูตามหลักธรรมชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงชี้ แนะแนวทางโดยถือหลักให้ธรรมชาติฟื้นตัวเอง
2.การปลูกป่าทดแทน ทรงให้ความสำคัญกับพืชพันธุ์ไม้ท้องถิ่น ทรง เตือนให้ระวังการนำพันธุ์ไม้ต่างถิ่นเข้าไปปลูก โดยไม่ได้ศึกษาอย่างดีพอมาก่อน ลักษณะของป่าที่ปลูกทดแทน ในการปลูกป่าทดแทนทรงกล่าวถึง "ป่า 3 อย่าง" คือ ป่าที่ปลูกพันธุ์ไม้ตามประโยชน์ที่นำไปใช้ 3 ลักษณะ ได้แก่ เทคนิคในการปลูกป่า ได้พระราชทานข้อคิดเกี่ยวกับวิธีการปลูกป่าที่มี ประสิทธิ�� าพหลายวาระ สรุปความได้ว่า
( 1 ) ต้องรักษาหน้าดินเอาไว้ โดยห้ามไถหน้าดินออกก่อนปลูกป่า และห้าม ใช้ยาฆ่าหญ้า
( 2 ) ปลูกต้นไม้ที่มีชั้นหรือขนาดความสูงต่างระดับกัน ทั้งไม้ยืนต้นที่มี ความสูง และไม้ชั้นล่างหรือไม้คลุมดิน เพื่อรักษาความชุ่มชื้นไม่ให้ระเหยไปใน อากาศ
( 3 ) ปลูกต้นไม้ชนิดโตเร็วเพื่อเป็นไม้เบิกนำ ปลูกพันธุ์พืชไม้ท้องถิ่น และพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบแทรกเข้าไปในป่า เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดิน
( 4 ) บริเวณพื้นที่ที่เป็น�� ูเขาสูง อาจใช้พืชที่มีเมล็ดนำไปปลูกไว้บนยอด เขา เพื่อให้ขยายพันธุ์เองตามธรรมชาติ
( 5 ) เริ่มปลูกในบริเวณใกล้แหล่งเก็บน้ำและพื้นที่ชุ่มชื้นก่อน เช่น รอบ อ่างเก็บน้ำหรือฝายหรือตามแนวร่องน้ำ แล้วค่อยขยายพื้นที่ปลูกออกไป โดยพยายาม ใช้ประโยชน์จากน้ำที่ไหลมาจากยอดเขา สู่พื้นที่ตอนล่างให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดย การจัดทำฝายต้นน้ำ (Check Dam) และทำคูน้ำระบบก้างปลาเพื่อรักษาความชุ่ม ชื้นของดิน ทั้งยังเป็นแนวป้องกันไฟป่าเปียก (Wet Fire Break)


3.การพัฒนาเพื่อให้ชุมชนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน
หลังแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 พื้นที่ป่าไม้ในประเทศ ถูกราษฎร บุกรุกและครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประมาณ 1 ล้านครอบครัว มีการเรียกร้องขอ กรรมสิทธิ์ ในการครอบครองพื้นที่ป่าไม้ที่ได้บุกรุกครอบครองไว้ เป็นปัญหาที่ทวีขึ้นทุก ขณะ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้ โดย พยายามเปลี่ยนราษฎรจาก ส�� าพผู้บุกรุกทำลายป่าให้กลายมาเป็นผู้อนุรักษ์ทรัพยากรป่า ด้วยทรงตระหนักถึงการพึ่งพาของคนและป่า ดังนั้น ในการที่คนจะอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน ทรงมีแนวพระราชดำริ ดังนี้
1. จัดจำแนกความเหมาะสมการใช้ที่ดินตามลักษณะโครงสร้างของดิน การพัฒนาชุมชนต้องคำนึงถึงการจัดพื้นที่อย่างเหมาะสมแก่ราษฎร ซึ่ง ประกอบด้วย พื้นที่อยู่อาศัยของชุมชน พื้นที่ทำกินหรือพื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่อนุรักษ์
2. ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ โดยใก้ราษฎรปลูกพืชเศรษฐกิจควบคู่ไป ก้วย เพื่อจะได้พึ่งตนเองได้
3. ส่งเสริมให้ราษฎรมีส่วนร่วมในกิจกรรมการปลูกป่า และจัดการ ทรัพยากรด้วยตนเอง นอกจากการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่ราษฎรเพื่อเพิ่มรายได้ แล้ว ยังมีพระราชประสงค์ให้ราษฎรมีส่วนร่วมในกิจกรรมการปลูกป่า ได้ทรงเสนอแนะให้ ตั้ง "ป่าไม้หมู่บ้าน" ขึ้นมา เพื่อให้ราษฎรเพาะต้นกล้าให้แก่ราชการ เป็นการเอื้อประโยชน์ ต่อกัน
4. ส่งเสริมการศึกษาเพื่อให้ราษฎรมีความรู้ พระราชกรณียกิจในการ เสด็จฯ เยี่ยมเยือนราษฎรแต่ละครั้งจะพระราชทานเครื่องเขียนแบบเรียน อุปกรณ์การศึกษา รวมทั้งสิ่งของเครื่องใช้ แก่ครูผู้ทำงานในถิ่นทุรกันดาร บางพื้นที่ที่ทรงพบว่าไม่มีโรงเรียน เด็กๆ ไปเรียนลำบาก เพราะอยู่บนป่าเขาห่างไกลเกินไป ก็จะพระราชทานพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์สร้างโรงเรียน เมื่อชาวบ้านมีการศึกษา มีความรู้ ก็ย่อมเกิดความเข้าใจ เกิด สำนึกทางสังคม และสำนึกในทางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นผลต่อเนื่องตามมา

0 ความคิดเห็น: