ด้านจิตรกรรม

                                  ด้านจิตรกรรม


พระบาทสมพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัยในงานจิตกรรมมาตั้งแต่ยังประทับอยู่เมืองโลซานน์ โดยเริ่มต้นจากการซื้อหนังสือเกี่ยวกับศิลปะมาศึกษาด้วยพระองค์เอง ภายหลังที่เสด็จฯ ขึ้นครองราชย์แล้ว ทรงเริ่มเขียนภาพอย่างจริงจังเมื่อราวปี พ.ศ.2502 โดยทรงใช้เวลายามว่างจากพระราชภาระกิจในตอนค่ำ
พระบาทสมพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างสรรค์งานศิลปะจิตรกรรมไว้มากพอสมควร ซึ่งจิตรกรรมฝีพระหัตถ์นั้นสามารถจำแนกได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
    ภาพเหมือนจริง (Realistic) ทรงเริ่มงานจิตรกรรมจากภาพเหมือนจริงซึ่งภาพที่ทรงเขียน ส่วนมากจะเป็นพระสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทุกพระองค์ ซึ่งมักจะเป็นภาพเขียนครึ่งพระองค์เป็นส่วนใหญ่
  ภาพเอ็กซเพรสชันนิสม์ (Expressionism) เป็นงานที่ทรงพัฒนาขึ้นจากการสร้างสรรค์งานแนวเหมือนจริง ซึ่งศิลปะแนวนี้เน้นการแสดงออกทางความรู้สึกอย่างฉับพลันของศิลปิน
ภาพศิลปะแนวนามธรรม (Abstractionism) เป็นงานที่แสดงออกของพระอารามณ์และความรู้สึกอย่างอิสระ ปราศจากรูปทรงและเรื่องราว    ภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมพระเจ้าอยู่หัว ได้ร่วมแสดงในงานศิลปะหัตถกรรมแห่งชาติ 4 ครั้ง
: งานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 14
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504
: งานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 15
วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2504
: งานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 16
วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2504
: งานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 17
วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2504
ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี กรมศิลปากรได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดนิทรรศการฝีพระหัตถ์ของพระองค์ ณ พิพธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2525
นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2508 มหาวิทยาลัยศิลปากรยังได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาจิตรกรรม แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า หลังจากปี พ.ศ. 2510 ด้วยพระราชภาระกิจมากมายที่มีต่อประเทศชาติและประชาชน จึงมิได้สร้างสรรค์งานจิตรกรรมเพิ่มขึ้นอีกเลย รวมภาพฝีพระหัตถ์จิตรกรรมที่เผยแพร่ให้ประชาชนได้ชื่นชมในอัจฉริยภาพทั้งสิ้น 47 ภาพ และที่ยังไม่เคยเผยแพร่อีกจำนวน 60 ภาพ

ด้านประติมากรรม

                                                                   ด้านประติมากรรม


พระบาทสมพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาค้นคว่าเทคนิควิธีการต่างๆ ในงานประติมากรรมด้วยพระองค์เองทั้งการปั้น การหล่อ และการทำแม่พิมพ์ ผลงานประติมากรรมฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมพระเจ้าอยู่หัวเป็นประติมากรรมแบบลอยตัว (Round Relief) เก็บรักษาไว้ในตู้บนพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต 2 ชิ้นคือ
ชิ้นที่ 1 รูปปั้นหญิงผู้เปลือยคุกเข่า ความสูง 9 นิ้ว ทรงปั้นด้วยดินน้ำมัน
ชิ้นที่ 2 พระรูปปั้นครึ่งพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ความสูง 12 นิ้ว ทรงปั้นด้วยดินน้ำมัน
นอกจากนี้ผลงานประติมากรรมแบบลอยตัวแล้ว พระบาทสมพระเจ้าอยู่หัวยังทรงสนพระราชหฤทัยในการสร้างพระพุทธรูปอีกด้วย
เดือนมีนาคม พ.ศ. 2508 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปปางประทานพร ภปร.
เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2508 มีพระราชดำริให้สร้างพระพิมพ์ส่วนพระองค์โดยโปรดเกล้าฯ ให้แกะแบบแม่พิมพ์ด้วยหินลับมีด แล้วหล่อเป็นปูนปลาสเตอร์ ต่อจากนั้นทำแม่พิมพ์ด้วยขี้ผึ้งหล่อจากรูปหล่อปูนปลาสเตอร์ พระพิมพ์ชุดนี้รู้จักกันในนาม ‘พระสมเด็จจิตรลดา’ หรือ ‘พระกำลังแผ่นดิน’
เดือนตุลาคม พ.ศ. 2508 ได้มีพระราชประสงค์ที่จะทรงทดลองหล่อพระเศียรพระพุทธรูปด้วยพระองค์เองจากแบบพระพุทธรูปปางประทานพร ภปร. ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว เริ่มแรกทรงหล่อจากเศียรลงมาถึงพระอุระในระยะต่อมาจึงทรงหล่อท่อนล่างต่อจนครบองค์ แม้แต่ละส่วนจะแยกกันหล่อ แต่ปรากฎว่าทรงต่อได้เรียบเนียนตลอดทั้งองค์พระ  ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2509 ทรงหล่อพระพุทธนวราชบพิตร ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว จำนวน 100 องค์ เพื่อพระราชทานไปประดิษฐานยังจังหวัดต่างๆ
ในระยะหลัง พระบาทสมพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชภาระกิจมากจนไม่มีเวลาที่จะทรงสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมอีก แต่อย่างไรก็ตามผลงานฝีพระหัตถ์ที่ผ่านมาล้วนแสดงถึงพระอิจฉริยภาพในเชิงประติมากรรมได้อย่างชัดเจน

พระอัจฉริยภาพด้านงานหัตถกรรม

                                                                     ด้านหัตถกรรม


พระอัจฉริยภาพด้านงานหัตถกรรมในพระบาทสมพระเจ้าอยู่หัวมีพื้นฐานจากเมื่อทรงพระเยาว์ โปรดที่จะประดิษฐ์ของเล่นต่างๆ ด้วยพระองค์เอง เช่น เครื่องร่อง และเรือจำลอง เป็นต้น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเล่าประทานไว้ในหนังสือ ‘เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์’ ว่า พระบาทสมพระเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มสนพระทัยการต่อเรือตั้งแต่ยังประทับอยู่โลซานน์
“…ได้เริ่มทำเรือต่างๆ ด้วยไม้ เช่น แบบเรือรบที่ไม่มีขาย ในระยะนั้นกำลังทำเรือใบใหญ่พอสมควร ใบก็เย็บเองด้วยจักร เสร็จแล้วก็เหลือแต่การทาสี เมื่อเริ่มไปแล้วก็พอดีเป็นเวลาที่กำลังจะตัดสินใจว่าจะอพยพออกไปจากสวิตเซอร์แลนด์ ทรงเล่าว่าทุกคนก็ถามอย่าล้อๆ ว่า เรือจะแห้งทันไหม”
ดังกล่าวถึงในพระอัจฉริยภาพด้านกีฬาไว้แล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดกีฬาเรือใบ และทรงได้ยอดเยี่ยมจนได้รางวัลเหรียญทองในการแข่งขันระดับนานาชาติ แต่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ทรงมีพระปรีชาสามารถในเชิงช่าง ทรงออกแบบและต่อเรือใบประเภทต่างๆ ได้อย่างประณีตงดงาม
ม.จ. ภีศเดช รัชนี เล่าประทานไว้ในหนังสือ ‘ชีวิตชั้นๆ’ ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์จะต่อเรือด้วยพระหัตถ์เอง เพราะว่าที่โรงเรียนก็ทรงงานด้านช่างไม้ ม.จ. ภีศเดชจึงกราบบังคมทูลแนะนำว่าควรต่อเรือใบประเภท Enterprise เนื่องจากในเวลานั้นมีแล่นอยู่ในเมืองไทยหลายลำ โดยรับสั่งให้มาร่วมกันทำเป็นโครงการ Joint Project
ม.จ. ภีศเดช จึงทรงจัดการหาไม้ยมหอม ไม้อัด กาวชนิดทนน้ำ เครื่องมือช่างไม้ และแผนผังต่อเรือ โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงต่อของพระองค์เองลำหนึ่ง และ ม.จ. ภีศเดชก็ทรงต่ออีกลำหนึ่ง
“ผมสังเกตการณ์อยู่ก็ได้ทรงเห็นว่าทรงกระทำสิ่งแปลกๆ ที่น่าเสียวไส้ เช่น จะเจาะช่องสำหรับเอาคานเรือติดกับขอบกราบ จะต้องใช้ความประณีตผมผู้ได้ต่อเรือใบมาแล้ว 3 ลำ จะค่อยๆ เลื่อยขอบคาน แล้วเอาสิ่วค่อยๆ เจาะเป็นช่องที่คานว่าจะเข้าไปได้พอดี แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยสร้างเรือมาก่อนไม่ทรงทำอย่างนั้น ทรงเลื่อยขอบคานเฉียงๆ สองตอน ทรงเอาสิวจดลงเฉียงๆ เหมือนกัน แล้วเอาค้อนตอก โป้งเดียวเสร็จ เมื่อทดพระเนตรเห็นผมเลื่อมใสมากด้วยใจจริง จึงทรงสอนวิธีพระราชทาน”

พระราชกรณียกิจด้านการเมืองการปกครอง

                                      

                                                     พระราชกรณียกิจด้านการเมืองการปกครอง

             

         นับแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจมากมาย อันเป็นคุณูประโยชน์ยิ่งต่อพสกนิกรไทย รวมถึงด้านการเมืองการปกครอง แม้จะเป็นที่ทราบกันดีว่า พระมหากษัตริย์ไทย ทรงดำรงตนเป็นกลางทางการเมือง และให้ระบบการเมืองของไทยขับเคลื่อนไปตามกลไกของระบอบประชาธิปไตย แต่ในฐานะองค์พระประมุขของชาติ ทรงมิได้เพิกเฉยละเลย พระราชกรณียกิจด้านการเมืองการปกครอง อาทิ การลงพระปรมาภิไธยและพระราชทานรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสำคัญ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมรัฐสภา หรือแม้ยามบ้านเมืองเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญๆ ก็ทรงยื่นพระหัตถ์เข้าช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเสมอมา   การลงพระปรมาภิไธยและพระราชทานรัฐธรรมนูญ            รัฐธรรมนูญนับเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญยิ่ง เป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการบริหารปกครองประเทศ จึงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการร่าง การพิจารณา การให้ความเห็นชอบ รวมถึงการแก้ไขเพิ่มเติม ที่รอบคอบรัดกุม           พระมหากษัตริย์ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยทุกพระองค์ ทรงตระหนักถึงความสำคัญของรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ่านมาซึ่งผ่านกระบวนการพิจารณาและให้ความเห็นชอบจาก รัฐสภา หรือองค์กรด้านนิติบัญญัติแล้ว ก่อนประกาศใช้จึงมีธรรมเนียมปฏิบัติที่คงไว้ซึ่งคุณค่าของกฎหมายและ เอกลักษณ์ความเป็นไทย ดังแนวพระราชดำรัสซึ่งพระยามโนปกรณ์นิติธาดานายกรัฐมนตรีได้กล่าวไว้ในที่ ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อคราวพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๕ ตอนหนึ่งว่า            “… ได้นำร่างรัฐธรรมนูญนี้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายทอดพระเนตร ทรงมีรับสั่งว่าเป็นที่พอพระราชหฤทัย และได้ทรงแนะนำว่าการประกาศรัฐธรรมนูญนั้นเป็นของสำคัญยิ่งใหญ่ ควรจะมีพิธีรีตอง จึ่งโปรดเกล้าฯ ให้โหรหลวงหาฤกษ์ยาม ได้ ๓ ฤกษ์ ฤกษ์ ๑ ตกวันที่ ๑ ธันวาคม ฤกษ์ ๒ ตกวันที่ ๑๐ ธันวาคม ฤกษ์ ๓ ตกไปกลางเดือนมกราคม จึ่งได้คิดว่าสำหรับฤกษ์ ๑ นั้น เวลากระชั้นเกินไปคงไม่ทัน จึงได้กำหนดไว้เป็นวันที่ ๑๐ ธันวาคม คือฤกษ์ ๒ ส่วนฤกษ์ ๓ นั้น เวลานานไป ฉะนั้นจึ่งอยากรีบเร่งพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อให้ทันในวันที่ ๑๐ ธันวาคม โดยหวังว่า จะแล้วเสร็จจากสภาภายในวันที่ ๓๐ เดือนนี้ โดยเราจะประชุมกัน ตั้งแต่ ๔ โมงเช้าเรื่อยๆ ไปทุกวันจนกว่าจะเสร็จ เพื่อให้แล้วก่อนฤกษ์ ๑๐ วัน โดยทรงเห็นว่ารัฐธรรมนูญนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิ์และเป็นของที่ควรจะขลัง เพราะฉะนั้นต้องการจะเขียนใส่สมุดไทย…”
           ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับที่มีการประกาศใช้ อันเนื่องมาจากการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินนั้น จะไม่มีการจารึกหรือเขียนลงในสมุดไทย แต่ยังคงต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย เช่นกัน  พระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ            พระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญนั้น เป็นธรรมเนียมราชประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดมาแต่ครั้งการพระราชพิธีพระราชทาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ซึ่งกระทำ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีพระราชทานรัฐ ธรรมนูญ จำนวน ๒ ครั้ง คือ           ๑. พระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช ๒๔๙๕ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๙๕ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม           ๒. พระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๑ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๑๑ เวลา ๑๐.๒๙ นาฬิกา ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม   พระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ ซึ่งนับเป็นพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญครั้งแรกหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง           ภายหลังการพระราชทานรัฐธรรมนูญครั้งนั้น ได้มีพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ของทุกปี โดยในระยะแรกๆ นอกจากพระราชพิธี ซึ่งจัดขึ้น ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมแล้ว หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมสมโภชน์เฉลิมฉลองต่อเนื่องอีกหลายวัน มีทั้งการออกร้าน การแสดง และการละเล่นต่าง ๆ และกำหนดให้จัดขึ้นทั่วประเทศ โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้มีความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ในขณะนั้น           ต่อมากิจกรรมสมโภชน์ดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไป เนื่องจากระยะเวลาและสถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป คงไว้เพียงพระราชพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์จะเสด็จมาประกอบพระราชพิธีเป็นประจำทุกปี           เมื่อมีพระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ หัว ซึ่งประดิษฐานที่หน้าอาคารรัฐสภา ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๓ หมายกำหนดการ วันที่ ๑๐ ธันวาคม จะประกอบด้วย ๒ กิจกรรม คือ การถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม  รัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา           รัฐพิธีเปิดประชุมไม่ว่าจะเป็นการประชุมรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร สภาร่างรัฐธรรมนูญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสภาที่เรียกชื่ออื่นที่ทำ หน้าที่ในฐานะรัฐสภา ถือเป็นรัฐพิธีสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินทรง ประกอบรัฐพิธีด้วยพระองค์เองหรือจะโปรดเกล้าฯ ให้พระรัชทายาทซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว หรือผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้แทนพระองค์มาประกอบรัฐพิธีก็ได้           เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งสภากรรมการองคมนตรี ทำหน้าที่เสมือนเป็นฝ่ายนิติบัญญัติคล้ายกับรัฐสภา แต่ขณะนั้นยังไม่มีบทบัญญัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับรัฐพิธีเปิดประชุม พระองค์มิได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดประชุม แต่ได้พระราชทานพระราชดำรัสอัญเชิญไปอ่านเปิดการประชุม และเมื่อล่วงเข้าสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย การเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๔๗๕ พระองค์ก็ได้พระราชทานกระแสพระราชดำรัสไปอ่านเปิดประชุมเช่นกัน           ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับรัฐพิธีเปิดประชุมเป็นครั้งแรก ในมาตรา ๓๐ ว่า            พระมหากษัตริย์ทรงเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรตามสมัยประชุมและทรงเปิดปิดประชุม
            พิธีเปิดประชุม จะทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินทรงทำหรือจะโปรดเกล้าฯ ใช้รัชทายาทที่บรรลุนิติภาวะแล้ว หรือนายกรัฐมนตรีกระทำพิธีแทนพระองค์ก็ได้
           ฉบับต่อๆ มา ได้มีการบัญญัติคล้ายคลึงกัน แต่ได้เปลี่ยนแปลงเฉพาะตัวบุคคลที่มากระทำพิธีจากนายกรัฐมนตรี มาเป็น ผู้หนึ่งผู้ใด กระทำพิธีแทนพระองค์           ในเรื่องการเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบรัฐพิธีเปิดประชุมนั้นขึ้นอยู่กับบท บัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ บางฉบับบัญญัติให้กระทำทุกครั้งที่เปิดสมัยประชุมสามัญ เช่น รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๔๗๕ปี ๒๔๘๙ปี ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม ๒๔๙๕ และบางฉบับจะบัญญัติให้กระทำเฉพาะสมัยแรกของการเลือกตั้งทั่วไป เช่น รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๑๗ปี ๒๕๒๑ปี ๒๕๓๔ปี ๒๕๔๐ และ ปี ๒๕๕๐ (ฉบับปัจจุบัน)   การแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมือง            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระมหากรุณาธิคุณต่อประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง ดังจะเห็นได้จากคราวที่ประเทศประสบวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญๆ ในหลายครั้ง พระองค์ได้ทรง พระกรุณาช่วยขจัดปัดเป่าภัยพิบัติจากวิกฤตการณ์ทั้งปวงและทุกครั้งทรงนำ ประเทศกลับคืนสู่ภาวะปกติสุขได้โดยเร็ว ซึ่งทุกครั้ง ด้วยเดชะพระบารมีด้วยพระปรีชาสามารถ ด้วยแรงศรัทธาเทิดทูนและด้วยความจงรักภักดี ที่อาณาประชาราษฎร์มีต่อพระองค์ ก็ได้ทรงขจัดปัดเป่ายุติภัยพิบัติและทรงนำบ้านเมืองกลับคืนสู่สภาวะปกติโดย เร็ว พสกนิกรของพระองค์ก็ได้กลับคืนสู่ความผาสุกร่มเย็นเช่นเดิมพระเกียรติคุณจึง แผ่ไพศาล เป็นที่แซ่ซ้องสดุดีทั่วไปทั้งภายในประเทศและนานาประเทศทั่วโลก  พระมหากรุณาธิคุณเมื่อครั้งวิกฤตการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาช่วยแก้ไขวิกฤตการณ์ของบ้านเมืองในช่วงเวลาดังกล่าวอย่างมาก เห็นได้จากการที่พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กรรมการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา แห่งประเทศไทย เข้าเฝ้าเพื่อขอพระราชทานคำปรึกษาในวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๑๖ เวลา ๑๖.๒๐ น. นอกจากนั้นในช่วงเช้าของวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เมื่อเกิดการปะทะกันระหว่างทหาร ตำรวจ กับประชาชนและนักศึกษา ที่บริเวณคูน้ำข้างพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน มีนักศึกษาและประชาชนบางส่วนว่ายน้ำหนีเข้าไปพึ่งพระบารมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ เสด็จออกรับ ทรงไต่ถามทุกข์สุขของผู้เข้ามาพึ่งพระบารมี รับสั่งให้สำนักพระราชวังนำข้าวและอาหารแจกจ่ายให้แก่ประชาชนหนีภัยเข้ามา พึ่งพระบารมีในเขตพระราชฐาน จนกระทั่งเหตุการณ์ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยถึงขั้นวิกฤต เมื่อรัฐบาล จอมพล ถนอม กิตติขจร สั่งให้ใช้กำลังทหารและอาวุธเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุม ทำให้ประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงห่วงใยประชาชนเป็นอย่างมาก จึงได้พระราชทานพระราชกระแสรับสั่งกับประชาชนทางโทรทัศน์ เนื่องในวันมหาวิปโยค โดยทรงขอให้ทุกฝ่ายระงับความรุนแรง และทรงแต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีแทน จอมพล ถนอม กิตติขจร ที่กราบบังคมทูลขอลาออกจากตำแหน่ง หลังจากพระราชทานพระราชกระแสรับสั่งแล้วสถานการณ์อันยุ่งยากก็ได้คลี่คลายลง เป็นลำดับจวบจน จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ประภาส จารุเสถียร และ พันเอก ณรงค์ กิตติขจร เดินทางออกจากประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖ สถานการณ์จึงกลับเข้าสู่ภาวะปกติ           ด้วยน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงห่วงใยพสกนิกร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มิได้ทรงทอดทิ้งผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการเดินขบวนเรียกร้อง ได้เสด็จไปทรงเยี่ยมเยียนผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลศิริราช รวมทั้งในการพระราชทานเพลิงศพวีรชนเมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๗ หนึ่งปีหลังจากเกิดเหตุการณ์วันมหาวิปโยคแล้ว ก็ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพด้วยพระองค์เอง  พระมหากรุณาธิคุณเมื่อครั้งวิกฤตการณ์ช่วง ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙           วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ลูกเสือชาวบ้านและกลุ่มพลังต่างๆ ได้ รวมตัวกันชุมนุมต่อต้านนักศึกษา และพยายามบุกเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เกิดการยิงต่อสู้กัน ตำรวจได้บุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เข้าเคลียร์พื้นที่ โดยมีกลุ่มกระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้านและกลุ่มนวพลเข้าร่วมด้วย บ้างก็เข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บ้างก็รออยู่ข้างนอกเพื่อคอยทำร้ายผู้ที่หนีตำรวจออกมา เหตุการณ์เต็มไปด้วยความวุ่นวายสับสนมีนักศึกษาบาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินนำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ จึงทำการยึดอำนาจการปกครองเพื่อจะได้เข้าไปแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวได้รวดเร็วขึ้น เพื่อความมั่นคงของชาติบ้านเมือง และได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อกราบบังคมทูลรายงานสถานการณ์ของประเทศในขณะนั้นให้ทรงทราบสถานการณ์ ต่างๆ ก็เริ่มคลี่คลายลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อให้แก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว เหตุการณ์ความสับสนวุ่นวายต่างๆ จึงกลับคืนสู่สภาวะปกติอย่างรวดเร็วยุติการเสียเลือดเสียเนื้อ ทั้งนี้ ก็ด้วยเดชะพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงเป็นที่เคารพสักการะ และเป็นศูนย์รวมแห่งความศรัทธาและความจงรักภักดีของปวงชนชาวไทยอย่างมั่นคง ไม่มีวันเสื่อมคลาย พระมหากรุณาธิคุณได้ปกแผ่คุ้มเศียรเกล้าปวงชนชาวไทย ทรงขจัดปัดเป่าภัยจากวิกฤตการณ์ นำประเทศคืนสู่ความผาสุกสงบร่มเย็นอีกครั้งหนึ่ง   พระมหากรุณาธิคุณเมื่อครั้งวิกฤตการณ์ช่วงพฤษภาคม ๒๕๓๕           เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี และพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ นำพลเอก สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรี และ พลตรี จำลอง ศรีเมือง อดีตหัวหน้าพรรคพลังธรรมเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระราชดำรัส ให้พลเอก สุจินดา คราประยูร และพลตรี จำลอง ศรีเมือง ซึ่งเป็นเสมือนผู้แทนของฝ่ายต่าง ๆ ช่วยกันแก้ไขปัญหา โดยหันหน้าเข้าหากันเพื่อฟื้นฟูบ้านเมือง โดยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ และพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ จะเป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษาด้วยความเป็นกลาง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระราชดำรัสคำเตือนสติผู้นำทั้ง ๒ ฝ่ายในการแก้ปัญหา ดังนี้            “… ปัญหาวันนี้ไม่ใช่ปัญหาของการบัญญัติหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหาทุกวันนี้คือความปลอดภัย และขวัญของประชาชนฉะนั้นก็ขอให้ท่าน โดยเฉพาะสองท่าน พลเอก สุจินดา คราประยูร และพลตรี จำลอง ศรีเมือง ช่วยกันคิด คือหันหน้าเข้าหากัน ไม่ใช่เผชิญหน้ากัน เพราะว่าประเทศของเรา …. เป็นประเทศของทุกคน … อันตรายทั้งนั้น มีแต่แพ้ คือต่างคนต่างแพ้ ผู้ที่เผชิญหน้าก็แพ้ แล้วที่แพ้ที่สุดก็คือประเทศชาติ … ฉะนั้นจึงขอให้ทั้งสองท่านเข้ามา คือไม่เผชิญหน้า แต่ต้องหันหน้าเข้าหากัน และสองท่านนี้เท่ากับเป็นผู้แทนของฝ่ายต่าง ๆ คือไม่ใช่สองฝ่าย คือ ฝ่ายต่าง ๆ ที่เผชิญหน้ากัน ให้ช่วยกันแก้ปัญหาปัจจุบันนี้ คือความรุนแรงที่เกิดขึ้นแล้วก็เมื่อเยียวยาปัญหานี้ได้แล้วจะมาพูดกัน ปรึกษากัน ว่าจะทำอย่างไรสำหรับให้ประเทศไทยได้มีการสร้างพัฒนาขึ้นมาได้กลับมาคืนได้ โดยดี อันนี้เป็นเหตุผลที่เรียกท่านทั้งสองมา และก็เชื่อว่าทั้งสองท่านก็เข้าใจว่าจะเป็นผู้ที่ได้สร้างประเทศจากสิ่งปรัก หักพังแล้วก็จะได้ผลในส่วนตัวมากว่าได้ทำดี….”
           ด้วยเดชะพระบารมี และด้วยพระปรีชาญาณอันล้ำลึก เหตุการณ์รุนแรงภายในบ้านเมือง ซึ่งมีผลกระทบถึงเกียรติภูมิของชาติกระทบกระเทือนภาวะเศรษฐกิจ และความผาสุกร่มเย็นของประชาชนเป็นส่วนใหญ่ก็ยุติลงบ้านเมืองกลับคืนสู่ภาวะ ปกติได้อีกครั้งหนึ่ง
  

โครงการปลูกป่าถาวร

                                                             โครงการปลูกป่าถาวร


โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่

        
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 เป็นอีกวันสำคัญที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของ ปตท. เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปในพิธีน้อมเกล้าฯถวายโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 จำนวน 1 ล้านไร่ ในส่วนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ณ พื้นที่ป่าชายเลน แปลงปลูกป่า FPT 29 และ 29/3 อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเสด็จฯ ทอดพระเนตรนิทรรศการและทรงมีพระราชปฏิสันถารอย่างใกล้ชิดกับตัวแทนชุมชนที่เข้าร่วมปลูกป่ากับ ปตท. จากทั่วประเทศเป็นเวลาเกือบ 4 ชั่วโมง ยังความปลาบปลื้มเป็นล้นพ้นแก่คนไทยทั้งประเทศโดยเฉพาะคนปลูกป่า
 
1ล้านกล้าถวายพ่อกับปตท1ล้านกล้าถวายพ่อกับปตท
         ปัจจุบัน ปตท. ยังคงดำเนินการต่อเนื่องจากการปลูกป่า 1 ล้านไร่ โดยแบ่งออกเป็น 2 โครงการหลักๆ คือ โครงการรักษาป่าระยะยาว ดำเนินการโครงการหมู่บ้าน ปตท. พัฒนาและทำกิจกรรมเพื่อความอยู่รอดของป่า 3 กิจกรรม คือ การอบรมยุวชน ปตท. รักษาป่า การอบรมอาสาสมัครป้องกันไฟป่า และการอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) นอกจากนั้น ปตท. ยังตระหนักดีถึงการปลูกป่าไปพร้อมกับการปลูกคนเพื่อให้ป่าอยู่รอด สร้างความรักความผูกพันผืนป่ากับชุมชน ควบคู่กับการพัฒนาชีวิต ด้วยการต่อยอดโครงการลูกโลกสีเขียว ศูนย์สิรินาถราชินี และ 84 ตำบล สร้างคนรักษ์ป่า เป็นโครงการต่อเนื่อง เพื่อสร้างสังคมให้เข้มแข็งและยั่งยืน

จากกล้าต้นแรก

1ล้านกล้าถวายพ่อกับปตท
1ล้านกล้าถวายพ่อกับปตท
        จากกล้าต้นแรก ซึ่ง ปตท. ได้รับพระราชทานจาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ องค์ประธานเปิด โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ ของรัฐบาล ในปี พ.ศ. 2537 กลายเป็นกว่า 200 ล้านต้น ในปี พ.ศ. 2545 รวมพื้นที่ปลูกป่าทั้งหมด 1,033, 148 ไร่ ใน 48 จังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเป็นป่าบก 945,008 ไร่ ป่าชายเลน 63,554 ไร่ ป่าพรุ 24,286 ไร่ และป่าชายหาด 300 ไร่ ด้วยความร่วมมือร่วมใจของพลังไทยทุกหมู่เหล่า ที่ต่างร่วมกันฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการเพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ การปลูกป่าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

โครงการแกล้งดิน

                             โครงการแกล้งดิน

แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรด โดยมีการขังน้ำไว้ในพื้นท ี่จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ดินเปรี้ยวจัด จนถึงที่สุด แล้วจึงระบายน้ำออกและปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ทรงพบว่า ดินในพื้นที่พรุที่มีการชักน้ำออก เพื่อจะนำที่ดินมาใช้ทำการเกษตรนั้น แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิด ประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุด และให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วย การแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรียวัตถุ หรือซากพืชเน่าเปื่อยอยู่ข้างบน และมีระดับความลึก ๑ - ๒ เมตร เป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (Pyrite : FeS2) อยู่มาก


ดังนั้น เมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการ " แกล้งดิน " เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการ " แกล้งดินให้เปรี้ยว " คือทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น " แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด " จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้ วิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดำริ คือควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน จึงต้องควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรท์อยู่ เพื่อมิให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์


จากการทดลอง ทำให้พบว่า วิธีการปรับปรุงดินตามสภาพของดินและความเหมาะสม มีอยู่ ๓ วิธีการด้วยกัน คือ
  • ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด เพราะเมื่อดินหายเปรี้ยว จะมีค่า pH เพิ่มขึ้น หากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟต ก็จะทำให้พืชให้ผลผลิตได้
  • ใช้ปูนมาร์ลผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน
  • ใช้ทั้งสองวิธีข้างต้นผสมกัน

โครงการแก้มลิง

                                        โครงการแก้มลิง





 ความเป็นมาของโครงการแก้มลิง

          โครงการแก้มลิง เป็นแนวคิดในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย โดยพระองค์ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของอุทกภัยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2538 จึงมีพระราชดำริ "โครงการแก้มลิง" ขึ้น เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๘ โดยให้จัดหาสถานที่เก็บกักน้ำตามจุดต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับน้ำฝนไว้ชั่วคราว เมื่อถึงเวลาที่คลองพอจะระบายน้ำได้จึงค่อยระบายน้ำจากส่วนที่กักเก็บไว้ออกไป จึงสามารถลดปัญหาน้ำท่วมได้

          ทั้งนี้ นอกจากโครงการแก้มลิงจะมีขึ้นเพื่อช่วยระบายน้ำ ลดความรุนแรงของปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียงแล้ว ยังเป็นการช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ เมื่อถูกระบายสู่คูคลอง จะไปบำบัดน้ำเน่าเสียให้เจือจางลง และในที่สุดน้ำเหล่านี้จะผลักดันน้ำเสียให้ระบายออกไปได้

          โครงการแก้มลิง เป็นแนวคิดในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย โดยพระองค์ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของอุทกภัยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2538 จึงมีพระราชดำริ "โครงการแก้มลิง" ขึ้น เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๘ โดยให้จัดหาสถานที่เก็บกักน้ำตามจุดต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับน้ำฝนไว้ชั่วคราว เมื่อถึงเวลาที่คลองพอจะระบายน้ำได้จึงค่อยระบายน้ำจากส่วนที่กักเก็บไว้ออกไป จึงสามารถลดปัญหาน้ำท่วมได้ 
          ทั้งนี้ นอกจากโครงการแก้มลิงจะมีขึ้นเพื่อช่วยระบายน้ำ ลดความรุนแรงของปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียงแล้ว ยังเป็นการช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ เมื่อถูกระบายสู่คูคลอง จะไปบำบัดน้ำเน่าเสียให้เจือจางลง และในที่สุดน้ำเหล่านี้จะผลักดันน้ำเสียให้ระบายออกไปได้ แนวคิดของโครงการแก้มลิง
          แนวคิดของโครงการแก้มลิง เกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริถึงลิงที่อมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มได้คราวละมากๆ จึงมีพระราชกระแสอธิบายว่า "ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อยๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง" ด้วยแนวพระราชดำรินี้ จึงเกิดเป็น "โครงการแก้มลิง" ขึ้น เพื่อสร้างพื้นที่กักเก็บน้ำ ไว้รอการระบายเพื่อใช้ประโยชน์ในภายหลัง
ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง
          ลักษณะของโครงการแก้มลิงจะดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน เพื่อให้น้ำไหลลงคลองพักน้ำที่ชายทะเล จากนั้นเมื่อระดับน้ำทะเลลดลงจนต่ำกว่าน้ำในคลอง น้ำในคลองจะไหลลงสู่ทะเลตามธรรมชาติ ต่อจากนั้นจะเริ่มสูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่แก้มลิง เพื่อทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเอง จึงทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง จนในที่สุดเมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับในคลอง จึงปิดประตูระบายน้ำ โดยให้น้ำไหลลงทางเดียว (One Way Flow)
ประเภทของโครงการแก้มลิง
โครงการแก้มลิงมี ๓ ขนาด คือ
          ๑. แก้มลิงขนาดใหญ่ ( Retarding Basin) คือ สระน้ำหรือบึงขนาดใหญ่ ที่รวบรวมน้ำฝนจากพื้นที่บริเวณนั้นๆ โดยจะกักเก็บไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะระบายลงสู่ลำน้ำ พื้นที่เก็บกักน้ำเหล่านี้ได้แก่ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝาย ทุ่งเกษตรกรรม เป็นต้น ลักษณะสิ่งก่อสร้างเหล่านี้จะมีวัตถุประสงค์อื่นประกอบด้วย เช่น เพื่อการชลประทาน เพื่อการประมง เป็นต้น
          ๒. แก้มลิงขนาดกลาง เป็นพื้นที่ชะลอน้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ก่อสร้างในระดับลุ่มน้ำ มักเป็นพื้นที่ธรรมชาติ เช่น หนอง บึง คลอง เป็นต้น
          ๓. แก้มลิงขนาดเล็ก (Regulating Reservoir) คือแก้มลิงที่มีขนาดเล็กกว่า อาจเป็นพื้นที่สาธารณะ สนามเด็กเล่น ลานจอดรถ หรือสนามในบ้าน ซึ่งต่อเข้ากับระบบระบายน้ำหรือคลอง
          ทั้งนี้แก้มลิงที่อยู่ในพื้นที่เอกชน เรียกว่า "แก้มลิงเอกชน" ส่วนที่อยู่ในพื้นที่ของราชการและรัฐวิสาหกิจจะเรียกว่า "แก้มลิงสาธารณะ"
การจัดหาและออกแบบโครงการแก้มลิง
          การพิจารณาจัดหาพื้นที่กักเก็บน้ำนั้น ต้องทราบปริมาตรน้ำผิวดินและอัตราการไหลผิวดินที่มากที่สุดที่จะยอมปล่อยให้ออกได้ในช่วงเวลาฝนตก โดยสิ่งสำคัญคือต้องจัดหาพื้นที่กักเก็บให้พอเพียง เพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาในการระบายน้ำ ปัจจุบันมีแก้มลิงทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพมหานคร กว่า 20 จุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางฝั่งธนบุรี เนื่องจากมีคลองจำนวนมาก และระบายน้ำออกทางแม่น้ำเจ้าพระยา
          ทั้งนี้โครงการแก้มลิงแบ่งเป็น ๒ ส่วนคือ โครงการระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะใช้คลองที่ตั้งอยู่ชายทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นทางเดินของน้ำ ตั้งแต่จังหวัด สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร

          ส่วนที่สอง คือคลองในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะใช้คลองมหาชัย คลองสนามชัย และแม่น้ำท่าจีน ทำหน้าที่เป็นคลองรับน้ำในพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นครปฐม และกรุงเทพมหานคร แล้วระบายลงสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร
          นอกจากนี้ยังมีโครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" เพื่อช่วยระบายน้ำที่ท่วมให้เร็วขึ้น โดยใช้หลักการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดการระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทย เมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ ซึ่งโครงการนี้จะประกอบไปด้วย ๓ โครงการในระบบคือ

          ๑.โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง          ๒.โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"          ๓.โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน"


          ด้วยพระปรีชาญาณ และพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรของพระองค์  "โครงการแก้มลิง" จึงเกิดขึ้น และช่วยบรรเทาวิกฤต และความเดือดร้อนจากน้ำท่วมรอบกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลให้เบาบางลงไปได้ โดยอาศัยเพียงแค่วิธีการทางธรรมชาติ