ด้านจิตรกรรม

                                  ด้านจิตรกรรม


พระบาทสมพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัยในงานจิตกรรมมาตั้งแต่ยังประทับอยู่เมืองโลซานน์ โดยเริ่มต้นจากการซื้อหนังสือเกี่ยวกับศิลปะมาศึกษาด้วยพระองค์เอง ภายหลังที่เสด็จฯ ขึ้นครองราชย์แล้ว ทรงเริ่มเขียนภาพอย่างจริงจังเมื่อราวปี พ.ศ.2502 โดยทรงใช้เวลายามว่างจากพระราชภาระกิจในตอนค่ำ
พระบาทสมพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างสรรค์งานศิลปะจิตรกรรมไว้มากพอสมควร ซึ่งจิตรกรรมฝีพระหัตถ์นั้นสามารถจำแนกได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
    ภาพเหมือนจริง (Realistic) ทรงเริ่มงานจิตรกรรมจากภาพเหมือนจริงซึ่งภาพที่ทรงเขียน ส่วนมากจะเป็นพระสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทุกพระองค์ ซึ่งมักจะเป็นภาพเขียนครึ่งพระองค์เป็นส่วนใหญ่
  ภาพเอ็กซเพรสชันนิสม์ (Expressionism) เป็นงานที่ทรงพัฒนาขึ้นจากการสร้างสรรค์งานแนวเหมือนจริง ซึ่งศิลปะแนวนี้เน้นการแสดงออกทางความรู้สึกอย่างฉับพลันของศิลปิน
ภาพศิลปะแนวนามธรรม (Abstractionism) เป็นงานที่แสดงออกของพระอารามณ์และความรู้สึกอย่างอิสระ ปราศจากรูปทรงและเรื่องราว    ภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมพระเจ้าอยู่หัว ได้ร่วมแสดงในงานศิลปะหัตถกรรมแห่งชาติ 4 ครั้ง
: งานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 14
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504
: งานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 15
วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2504
: งานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 16
วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2504
: งานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 17
วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2504
ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี กรมศิลปากรได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดนิทรรศการฝีพระหัตถ์ของพระองค์ ณ พิพธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2525
นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2508 มหาวิทยาลัยศิลปากรยังได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาจิตรกรรม แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า หลังจากปี พ.ศ. 2510 ด้วยพระราชภาระกิจมากมายที่มีต่อประเทศชาติและประชาชน จึงมิได้สร้างสรรค์งานจิตรกรรมเพิ่มขึ้นอีกเลย รวมภาพฝีพระหัตถ์จิตรกรรมที่เผยแพร่ให้ประชาชนได้ชื่นชมในอัจฉริยภาพทั้งสิ้น 47 ภาพ และที่ยังไม่เคยเผยแพร่อีกจำนวน 60 ภาพ

0 ความคิดเห็น: